น้ำมันปลา (Fish oil) คืออะไร
น้ำมันปลา หรือ Fish oil เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากปลาทะเล เช่น ปลาซาดีน, ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ปลาเฮร์ริ่ง, ปลาแม็คเคอเรล, ปลาแอนโชวี่ และ Krill (กุ้งขนาดเล็ก) เป็นต้น น้ำมันปลาอุดมไปด้วย Omega-3 ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และนิยมรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพและชะลอเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ
ความสำคัญและประโยชน์ของโอเมก้า 3 (Omega 3)
Omega-3 เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว polyunsaturated fatty acids (PUFAs) ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้าง Omega-3 ได้เอง Omega-3 มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานตามปกติของร่างกาย ซึ่ง Omega-3 เป็นสารตั้งต้นของกรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) ร่างกายจะเก็บ Omega-3 ไว้ที่ชั้นไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane phospholipids) ซึ่งร่างกายนำไปใช้ในการทำงานระดับเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นคงรูปร่างเซลล์, การสื่อสัญญาณ, การสื่อสารระหว่างเซลล์ รวมถึงยังลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆได้มากมาย และน้ำมันปลาก็เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของกรดไขมัน Omega – 3
น้ำมันปลา Omega 3 เหมาะกับใคร / วัยไหนควรกิน
- เด็กวัย 1 – 3 ขวบ เนื่องจาก Omega-3 มีบทบาทและช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมองและระบบประสาท ช่วยให้มีสมาธิ โฟกัสกับกิจกรรมได้นานขึ้น เนื่องจากสมองมีไขมันเป็นองค์ประกอบหลักถึง 60% นอกจากนี้ Omega-3 ยังช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย
- บุคคลทั่วไป เพราะ Omega-3 เป็นกรดไขมันดีที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้งาน และร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ การบริโภค Omega-3 ช่วยเสริมระบบการทำงานปกติของร่างกายและยังช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะและโรคต่างๆอีกด้วย เช่น ลดระดับไขมันในเลือด, ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจหลอดเลือด และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง เป็นต้น
- ผู้สูงอายุ เพราะ Omega-3 นับว่าเป็นโภชนาการหลักที่สามารถลดความเสี่ยงของภาวะร่างกายและโรคอันเนื่องจากกระบวนการเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ เช่น อาการหลงๆลืมๆ, การจดจำ-รู้คิด (cognitive function), ระบบหัวใจหลอดเลือด, กล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- หญิงตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมลูก เนื่องจากกรดไขมันดีเป็นสารอาหารจำเป็นต่อสมอง, ระบบประสาท และดวงตาของทารกในครรภ์, เสริมพัฒนาการและภูมิคุ้มกันของทารก และยังช่วยเสริมสุขภาพจิตใจของคุณแม่อีกด้วย
ประโยชน์ของน้ำมันปลา Omega 3
1. ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด
2. ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
3. ลดความเสี่ยงต่อโรคกลุ่มหัวใจหลอดเลือด บำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
4. บำรุงสุขภาพสายตา ลดอาการตาแห้ง
5. จำเป็นต่อการพัฒนาอวัยวะ โดยเฉพาะระบบประสาท, สมองและสายตาของทารกในครรภ์
6. เสริมสร้างพัฒนาการด้านสมอง ประสาทและสมาธิของเด็ก
7. ลดระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลให้ผลความเสี่ยงจากโรค เช่น โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
8. ลดความเครียด,ความกังวล และป้องกันอาการเริ่มต้นของภาวะอาการผิดปกติทางจิต (mental disorder)
9. ลดการอักเสบในร่างกายเนื่องจากโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (autoimmune disease) เช่น รูมาตอยด์
10. บำรุงผม ผิว เล็บให้แข็งแรง ดูสุขภาพดี
11. ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม จึงช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ
1 วัน ควรทานน้ำมันปลา Omega 3 เท่าไหร่?
องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) และ European Food Safety Authority (EFSA) แนะนำบุคคลสุขภาพดีทั่วไปควรทานน้ำมันปลา ที่มี Omega -3 เป็นองค์ประกอบ และประกอบด้วย EPA และ DHA 250 – 500 มิลลิกรัมต่อวัน และหญิงตั้งครรภ์ควรทาน DHA เพิ่มอีก 200 มิลลิกรัมต่อวัน จากปริมาณแนะนำปกติ
โดยเราควรเลือกทานน้ำมันปลาที่สกัดด้วยวิธีการเฉพาะที่ทำให้ได้น้ำมันปลาคุณภาพสูง มีความบริสุทธิ์สูง และดูดซึมได้ง่าย และมีไขมันครบทั้งชนิด EPA และ DHA ในปริมาณที่เพียงพอต่อ 1 หน่วยบริโภค ผลิตจากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการรองรับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร เช่น หมายเลขทะเบียนอาหารและยา (เลข อย.)
ทำไมต้องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา โคเรียอึนดัน อาร์ทีจี โอเมก้า 3 (Korea Eundan rTG Omega 3)
เพราะน้ำมันปลาโคเรียอึนดัน อาร์ทีจี โอเมก้า 3 (Korea Eundan rTG Omega 3) 1 เม็ด มี Omega-3 สูงถึง 500 มิลลิกรัม ประกอบด้วย EPA 300 มิลลิกรัม และ DHA 200 มิลลิกรัม และสกัดโดยเทคโนโลยี re-esterified triglyceride (rTG) บริสุทธิ์สูง ช่วยให้ร่างกายการดูดซึมนำไปใช้งานได้ดีกว่าการสกัดแบบทั่วไป เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อมูลอ้างอิง :
Dinan, T., Siggins, L., Scully, P., O’Brien, S., Ross, P., & Stanton, C. (2009). Investigating the inflammatory phenotype of major depression: focus on cytokines and polyunsaturated fatty acids. Journal of psychiatric research, 43(4), 471–476. https://doi.org/10.1016/j.jpsychires.2008.06.003
Dunstan, J. A., Simmer, K., Dixon, G., & Prescott, S. L. (2008). Cognitive assessment of children at age 2(1/2) years after maternal fish oil supplementation in pregnancy: a randomised controlled trial. Archives of disease in childhood. Fetal and neonatal edition, 93(1), F45–F50. https://doi.org/10.1136/adc.2006.099085
Gammone, M. A., Riccioni, G., Parrinello, G., & D’Orazio, N. (2018). Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acids: Benefits and Endpoints in Sport. Nutrients, 11(1), 46. https://doi.org/10.3390/nu11010046
“Fish oil,” Examine.com, published on 26 October 2014, last updated on 5 October 2021, https://examine.com/supplements/fish-oil/
Koletzko, B., Lien, E., Agostoni, C., Böhles, H., Campoy, C., Cetin, I., Decsi, T., Dudenhausen, J. W., Dupont, C., Forsyth, S., Hoesli, I., Holzgreve, W., Lapillonne, A., Putet, G., Secher, N. J., Symonds, M., Szajewska, H., Willatts, P., Uauy, R., & World Association of Perinatal Medicine Dietary Guidelines Working Group (2008). The roles of long-chain polyunsaturated fatty acids in pregnancy, lactation and infancy: review of current knowledge and consensus recommendations. Journal of perinatal medicine, 36(1), 5–14. https://doi.org/10.1515/JPM.2008.001
Petersen, M., Pedersen, H., Major-Pedersen, A., Jensen, T., & Marckmann, P. (2002). Effect of fish oil versus corn oil supplementation on LDL and HDL subclasses in type 2 diabetic patients. Diabetes care, 25(10), 1704–1708. https://doi.org/10.2337/diacare.25.10.1704
Ubeda, N., Achón, M., & Varela-Moreiras, G. (2012). Omega 3 fatty acids in the elderly. The British journal of nutrition, 107 Suppl 2, S137–S151. https://doi.org/10.1017/S0007114512001535